ความเป็นมาของโรงเรียนจีนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ความเจริญทางวัฒนธรรม
คือ สิ่งชี้ให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของประเทศชาตินั้น
ความสงบร่มเย็นและความมีระเบียบวินัยภายในประเทศ ก็ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน
แต่การผลิตปัญญาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยสถาบันการศึกษาเป็นที่ถ่ายทอดให้กับบุคคล ปัจจุบันภาษาจีนเป็นภาษาสากลที่สำคัญอีกภาษาหนึ่ง ชาวจีนที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร
ถึงแม้เปลี่ยนแปลงสัญชาติเป็นคนไทย ก็ยังรักษาจารีตประเพณีเดิม
ลูกหลานจะเข้าเรียนภาษาไทยก็ตาม แต่พ่อแม่จะสอนให้ลูกหลานเรียนภาษาจีนด้วย พ่อค้า
คหบดีเชื้อสายจีนในประเทศไทยหลายจังหวัดร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนให้เยาวชนศึกษาเล่าเรียนหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาจีน
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โรงเรียนที่สอนภาษาจีนถูกสั่งปิดไปหลายแห่งเพราะผลกระทบทางการเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกลุ่มนักธุรกิจทางการค้าชาวจีนร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนจีนให้บุตรหลานได้เล่าเรียนทั้งภาษาไทยและภาษาจีน โรงเรียนแห่งแรกในบ้านดอน “พระยาปฏินันท์
(เลี่ยวหย่งเฮง)” ได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2442 ชื่อโรงเรียน “คี่หมง” มีครูใหญ่เป็นคนแซ่ฉั่ว ตั้งอยู่ถนนบ้านดอน เปิด - ปิดจนต้องเลิกกิจการไป
ต่อมาปี พ.ศ. 2473 ขุนเศรษฐ์ภักดี ทายาทพระยาปฏินันท์ ผู้นำทางเศรษฐกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาจีนขึ้นมาใหม่ชื่อ “โรงเรียนเถ้าเอง” ตั้งอยู่ถนนชนเกษม ปัจจุบันเป็นศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี อีกด้านหนึ่งติดกับถนนหน้าเมือง ปัจจุบันเป็นโรงแรมสุราษฎร์ เปิดสอนทั้งภาษาไทยและภาษาจีน มีแผนกอนุบาลด้วย ภาษาไทยสอนถึงชั้นประถมปีที่ 4 ภาษาจีนสอนถึงชั้นมัธยมต้นเป็นโรงเรียนมาตรฐาน แต่ต้องถูกสั่งปิดเมื่อ พ.ศ. 2482 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองทางราชการได้ย้ายศาลากลางจังหวัดเข้ามาใช้สถานที่เป็นที่ทำการชั่วคราว เนื่องจากศาลากลางจังหวัดถูกเผาทำลายเมื่อวันที่
8 ธันวาคม 2484 วันที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกบุกบ้านดอน
ปี พ.ศ. 2490 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงผ่านไป
2 ปี นายกำธร เสรฐภักดี ทายาทขุนแศรษฐ์ภักดี ได้รวมกลุ่มฟื้นฟูก่อตั้งโรงเรียนเถ้าเองขึ้นมาใหม่ที่ถนนหน้าเมือง ปัจจุบันเป็นโรงภาพยนตร์โอเดี่ยน ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า “โรงเรียนเอี๋ยวอิง” แต่ตัวอักษรจีนยังเขียนเหมือนเดิม มีคุณเจิน จิ้น หยวน เป็นครูใหญ่จีน คุณประยูร โรจนวิภาค เป็นครูใหญ่ไทย เปิดทำการสอนจนกระทั่ง พ.ศ. 2509 เพราะเหตุผลทางการเมืองจึงถูกสั่งปิดอีก
ในปี พ.ศ.2492 ได้เกิดมีโรงเรียนสอนภาษาไทยและจีนขึ้นอีกแห่งหนึ่ง โดยการนำของนายเจนกิจ ปัจจักขะภัติ์ ทายาทของพระประจักษ์(โซวคุนเฮง) คหบดีผู้นำทางเศรษฐกิจอีกท่านหนึ่งใช้ชื่อว่า “โรงเรียนตงเจี่ย” ตั้งอยูถนนหน้าเมือง
ถนนสายเดียวกับโรงเรียนเอี๋ยวอิง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งห้างพาต้า
ธนาคารทหารไทย ปากทางเข้าวัดไทร ต่อมาปี พ.ศ. 2499 ต้องย้ายไปตั้งที่บ้าน ถนนตลาดใหม่และต้องเลิกกิจการเนื่องจากถูกทางราชการสั่งปิด
โรงเรียนทั้งสอง เอี๋ยวอิง และตงเจี่ย ต่างให้การศึกษาแก่กุลบุตรธิดาเชื้อสายจีนทั้งภาษาไทยและภาษาจีนมาเป็นจำนวนไม่น้อย ศิษย์เก่าของทั้งสองโรงเรียนต่างประสบความสำเร็จในอาชีพและหน้าที่การงาน มีทั้งนักธุรกิจ พ่อค้า
ที่มีชื่อเสียงในสังคม ที่รับราชการเป็นใหญ่เป็นโตหลายท่าน นอกจากมีโรงเรียนสอนภาษาจีนสองโรงแล้วยังมีการสอนพิเศษภาษาจีนภาคค่ำที่สมาคม
“ลิจิ้น” ต่อมาสถานที่ดังกล่าวได้ก่อสร้างโรงแรมเปรมสุข ปัจจุบันเป็นที่ตั้งธนาคารกสิกรไทย สาขาสุราษฎร์ธานี
ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 50 ปี
วัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายจีนยังฝั่งแน่นไม่เปลี่ยนแปลง แต่การใช้ภาษาเปลี่ยนแปลงไปมาก ปัจจุบันลูกหลานจีนพูดจีนไม่ค่อยได้ หรือพูดจีนไม่เป็น
เนื่องจากไม่ได้พูดและไม่ได้ใช้ความเป็นมาของโรงเรียนวมินทร์วิทยา (ฮัวเหมิง)
ในปี พ.ศ.2545 ผู้นำจากองค์กรสมาพันธ์จีนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ร่วมประชุม เพื่อดำเนินการก่อตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยและจีน โดยขอจดทะเบียนจัดตั้งในนามมูลฮัวเหมิงการศึกษา เลขที่ 148/19 บนถนนกาญจนวิถี ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้ง โดยมีชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนวมินทร์วิทยา” ภาษาจีนเรียกว่า “ฮัวเหมิง”